กองทุน LTF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
บทความวันที่ 3 ก.พ. 2562 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 1644 ครั้ง
บทความวันที่ 3 ก.พ. 2562 . เขียนโดย อจ.สุเทพ . เข้าชม 1644 ครั้ง
กองทุน LTF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 257) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ลงวันที่
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และ (ฉบับที่ 258) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 และ (ฉบับที่ 259) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการยกเว้นเงินได้เสมือนหนึ่งเป็นค่าลดหย่อน
สำหรับค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
และค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว รวมทั้งหักการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ จึงขอนำรายละเอียดเกี่ยวการยกเว้นเงินได้ดังกล่าวมาเรียนเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้
1.
หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
2.
หน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
3.
ค่าลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
4.
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
5.
บทสรุป
1.
หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF: Retirement Mutual
Fund เป็นกองทุนรวมที่เกิดขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการสนับสนุนวินัยการออมในระยาวเพื่อวัยเกษียณเมื่อพ้นจากงานและไม่มีรายได้ประจำแล้ว
ดังนี้
โดยที่ลูกจ้างหรือข้าราชการสามารถออมเงินผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการได้
แต่การออมดังกล่าวยังมีวงเงินจำกัดไม่เป็นไปตามความต้องการของลูกจ้างหรือข้าราชการที่มีความสามารถออมได้มากกว่าที่กฎหมายกำหนด
และโดยที่ยังมีผู้มีเงินได้โดยทั่วไปซึ่งไม่สามารถออมเงินผ่านกองทุนดังกล่าวเนื่องจากไม่สามารถเข้าเป็นสมาชิกของกองทุนทั้งสองได้
จึงได้มีการจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ขึ้น
เพื่อเพิ่มทางเลือกในการออมเงินระยะยาวให้แก่ลูกจ้าง ข้าราชการ และผู้มีเงินได้โดยทั่วไป
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการออมระยะยาวเพื่อการเลี้ยงชีพของลูกจ้าง ข้าราชการ
และผู้มีเงินได้โดยทั่วไป
และเพื่อเป็นการส่งเสริมการลงทุนในสถาบันในตลาดทุนของไทยเพิ่มมากขึ้น
สมควรกำหนดให้เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมดังกล่าว
และเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าว
เป็นเงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
และสมควรกำหนดให้เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีเงินได้
เพื่อทำให้ผู้ที่ไม่ออมเงินตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกองทุนรวมดังกล่าวมีภาระต้องเสียภาษีเงินได้
อันจะส่งผลทำให้มีการออมเงินผ่านกองทุนรวมนี้ในระยะยาว จึงในปี พ.ศ.
2544 ได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 แก้ไขความใน
(32) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง
ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) และเพิ่มความ (55) และ (56) ของข้อ
2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับดังกล่าว และเฉพาะ (55) ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง
ฉบับที่ 265 (พ.ศ. 2551) จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา
– วิสัชนา ดังนี้
1.1 หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2
(55) ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
1.1.1
ให้ยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของเงินได้พึงประเมิน
แต่ไม่เกินสามแสนบาทสำหรับปีภาษีนั้น
โดยผู้มีเงินได้ต้องถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกและไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้นเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 171) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
และการถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551
1.1.2 ในกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการด้วย
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการต้องไม่เกิน
500,000 บาท
1.1.3
ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนไม่ครบ 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรกหรือไถ่ถอนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้มีเงินได้มีอายุครบ
55 ปีบริบูรณ์ ให้ผู้มีเงินได้นั้นหมดสิทธิได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง
และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีมาแล้วด้วย
1.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไข
เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
และการถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 171)
ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 259) ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป มีดังต่อไปนี้
1.2.1
เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมาย
ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1)
ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าปีละ
1 ครั้งและต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าว
ต้องมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี
หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
(2) ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า
5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
และไถ่ถอนหน่วยลงทุนดังกล่าวเมื่อผู้มีเงินได้นั้นมีอายุไม่ต่ำกว่า 55
ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้
สำหรับการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่วันที่
1 มีนาคม 2551 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย
(3)
ผู้มีเงินได้ต้องไม่ได้รับเงินปันผลหรือเงินอื่นใดจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในระหว่างการลงทุน
และต้องได้รับคืนเงินลงทุนและผลประโยชน์จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเท่านั้น
(4) ผู้มีเงินได้ต้องไม่กู้ยืมเงินหรือเบิกเงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้
1.2.2
กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่าหนึ่งกองทุน
เงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในแต่ละกองทุน
ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตาม 1.2.1
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าว
ต้องมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี
หรือมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี
1.2.3
กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน
1.2.1 หรือ 1.2.2 ในปีใด
เมื่อผู้มีเงินได้ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมตาม 1.2.8
แล้ว และได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ยังคงเหลืออยู่เมื่อผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป
โดยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใน 1.2.1 และ 1.2.2
นับตั้งแต่ปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม
การนับระยะเวลา
การถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพให้นับระยะเวลาที่ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมรวมเข้าด้วย
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าว
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
1.2.4
กรณีผู้มีเงินได้ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก และมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ ทุพพลภาพ ผู้มีเงินได้จะไม่ซื้อหน่วยลงทุนต่อไป
หรือจะซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพปีใดปีหนึ่ง
และจะซื้อหน่วยลงทุนเป็นจำนวนเท่าใดก็ได้ โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม 1.2.1
(1) และ 1.2.2 วรรคสอง
1.2.5
กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น
ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพใดกองทุนรวมหนึ่งหรือหลายกองทุนรวม
ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นภายใน 5
วันทำการ
นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่โอนได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าว
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้ จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
1.2.6
การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนตาม 1.2.1, 1.2.2, 1.2.3
และ
1.2.4
ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ
15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่ง ต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ทั้งนี้
เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
กรณีผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนด้วย
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นดังกล่าวเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสงเคราะห์ ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
1.2.7 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้ ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
1.2.8 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
และได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1.2.6 แล้ว และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ
1.2.1, 1.2.2 หรือ 1.2.3 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1.2.6
และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลา
ไม่เกิน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ
จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว
พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ในการเสียภาษีเงินได้ดังกล่าว
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามมาตรา 3
อัฎฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ได้อนุมัติขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
โดยให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมสำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้แล้วได้ภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของ
1.2.1, 1.2.2 หรือ 1.2.3 โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
1.2.9 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
ให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
1.3 เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าวเพราะเหตุสูงอายุ
ทุพพลภาพ หรือตาย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 91) ลงวันที่ 15 มีนาคม 2544 (ข้อ 2 (56) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ. 2544)) ซึ่งใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป มีดังต่อไปนี้
1.3.1 เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ได้รับจากกองทุนรวมดังกล่าวเพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(1) กรณีเหตุสูงอายุ ผู้ถือหน่วยลงทุนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปีบริบูรณ์ และถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า
5
ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
การนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง
ให้นับเฉพาะปีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุน
และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 (55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 228 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
(2) กรณีทุพพลภาพ
ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ผู้ถือหน่วยลงทุนทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพซึ่งก่อให้เกิดเงินได้ที่จะนำมาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพได้อีกต่อไป
(3) กรณีตาย ต้องเป็นกรณีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนถึงแก่ความตายในระหว่างการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ทั้งนี้
ผู้ถือหน่วยลงทุนจะต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพว่า
ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
เพราะเหตุสูงอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย แล้วแต่กรณีมาแสดงด้วย
1.3.2 เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่จะได้รับยกเว้นตาม 13.1
จะต้องคำนวณจากเงินได้พึงประเมินที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 2 (55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
1.4 ให้ยกเว้นภาษีเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
(ข้อ 2 (65) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 265 (พ.ศ. 2551)) ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 170) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้หรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม
พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 258) ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2588
ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558
เป็นต้นไป มีดังต่อไปนี้
1.4.1
เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1)
ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไม่น้อยกว่าปีละ 1
ครั้ง และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีจำนวนรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี
หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000
บาทต่อปี
(2)
ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
นับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
การนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าว
ให้นับเฉพาะปีที่ผู้ถือหน่วยลงทุนได้ซื้อหน่วยลงทุนเฉพาะที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน
(1) แต่มิให้ใช้บังคับในกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
เพราะเหตุทุพพลภาพหรือตาย
(3)
ผู้มีเงินได้ต้องไม่ได้รับเงินปันผลหรือเงินอื่นใดจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในระหว่างการลงทุน
และต้องได้รับคืนเงินลงทุนและผลประโยชน์จากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
เมื่อมีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนเท่านั้น
(4)
ผู้มีเงินได้ต้องไม่กู้ยืมเงินหรือเบิกเงินจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ผู้มี เงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนไว้
1.4.2
กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพเกินกว่าหนึ่งกองทุนเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพในแต่ละกองทุนที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขตาม 1.4.1
1.4.3
กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพซึ่งได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน
1.4.1 หรือ 1.4.2 ในปีใด
เมื่อผู้มีเงินได้ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมสำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพไปหักออกจากเงินได้พึงประเมินเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้แล้ว
และได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ยังคงเหลืออยู่
เมื่อผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพต่อไป
โดยได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใน 1.4.1 และ 1.4.2
นับตั้งแต่ปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมการนับระยะเวลาการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ให้นับระยะเวลาที่ได้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพก่อนปีที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติมรวมเข้าด้วย
1.4.4 กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพหนึ่งทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่น
ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมใดกองทุนรวมหนึ่งหรือหลายกองทุนรวม
ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอื่นภายใน 5
วันทำการ
นับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่โอนได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพดังกล่าว
กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่ได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
1.4.5
การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนตาม 1.4.1, 1.4.2, 1.4.3 และ 1.4.4
ให้ยกเว้นสำหรับเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าวที่คำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ซื้อหน่วยลงทุนดังกล่าวได้ในอัตราไม่เกินร้อยละ
15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี
และจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 500,000 บาท
ในแต่ละปีภาษี
1.4.6
การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่แสดงจำนวนเงินได้จากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
1.4.7
การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในกรณีนี้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธินำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
2. หน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
หรือ LTF: Long-term Equity Mutual fund เป็นกองทุนรวมที่เกิดมาจากแนวคิดที่ต้องการส่งเสริมการลงทุนระยะยาวในหุ้นจดทะเบียนในตลาดรอง
เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) เพื่อช่วยให้ตลาดทุนไทยมีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น
และยังช่วยสร้างวินัยในการออม ของผู้ลงทุนรายย่อยในระยะยาวมากยิ่งขึ้นด้วย และเมื่อกองทุนรวมทั้งสองประเภทต่างก็เน้นการลงทุนระยะยาว
ทางการจึงสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้แก่ ผู้ลงทุนเพื่อเป็นการจูงใจ ดังนี้
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการลงทุนระยะยาวผ่านกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ จึงได้มีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 246 (พ.ศ. 2547) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร เพิ่มเติม (66) และ (67) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.
2509) โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่
31 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป และต่อมาได้แก้ไขเพิ่มเติมความใน (66) ดังกล่าวโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266
(พ.ศ. 2551)
2.1 หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการยกเว้นเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 2
(66) ซึ่งอาจแยกพิจารณาได้ดังนี้
2.1.1 เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ได้มีการจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวมภายในวันที่
30 มิถุนายน 2550 ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปี
ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
2.1.2 เงินได้ดังกล่าวต้องเป็นเงินได้ของผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา
แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลและกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
2.1.3
เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ได้รับยกเว้นดังกล่าว
และการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที 169) เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2551
2.1.4
ในกรณีที่ผู้มีเงินได้ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในข้อ 2.2
ให้ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นตาม 2.1.1
และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีตาม 2.1.1 ด้วย
2.2 ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้
หรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 2 (66)
แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ทั้งนี้ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 169) ลงวันที่
24 ธันวาคม 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 257) ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2588 ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป มีดังต่อไปนี้
2.1.1
เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมาย
ว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังนี้
(1) ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในแต่ละปีนั้น
ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
ผู้มีเงินได้จะต้องถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า
5 ปีปฏิทิน
แต่ไม่รวมถึงกรณีผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
เพราะทุพพลภาพหรือตาย
กรณีทุพพลภาพ ต้องเป็นกรณีที่แพทย์ที่ทางราชการรับรองได้ตรวจและแสดงความเห็นว่า
ผู้ถือหน่วยลงทุนทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบอาชีพซึ่งก่อให้เกิดเงินได้ที่จะนำมาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวได้อีกต่อไป
2.1.2 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเกินกว่าหนึ่งกองทุนเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวในแต่ละกองทุนที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตาม 2.1.1
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีจำนวนรวมกัน ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น
2.1.2
กรณีผู้มีเงินได้ได้โอนการลงทุนในหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวอีกกองทุนหนึ่ง
ไม่ว่าจะโอนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวกองทุนเดียวหรือหลายกองทุน
ผู้มีเงินได้จะต้องโอนการลงทุนไปยังกองทุนรวมหุ้นระยะยาวนั้นภายใน 5 วันทำการนับตั้งแต่วันถัดจากวันที่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่โอนได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้
จึงจะถือว่าระยะเวลาในการถือหน่วยลงทุนในกรณีดังกล่าวมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน
การโอนการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวดังกล่าว กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่ได้รับคำสั่งโอนจากผู้มีเงินได้
จะต้องจัดทำเอกสารหลักฐานการโอนส่งมอบให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวที่รับโอนเก็บไว้เป็นหลักฐานพร้อมที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบได้
2.1.3 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนตาม 2.1.1 และ 2.1.2 ให้ยกเว้นเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในอัตราไม่เกินร้อยละ
15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น และผู้มีเงินได้ดังกล่าวต้องเป็นบุคคลธรรมดา
แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
2.1.4 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่แสดงได้ว่ามีการจ่ายเงินเข้ากองทุนรวมหุ้นระยะยาวดังกล่าว
2.1.5 กรณีผู้มีเงินได้ได้ซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
และได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 2.1.4 แล้ว
และต่อมาได้ปฏิบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ 2.1.1 หรือ 2.1.2 ผู้มีเงินได้หมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 2.1.4 แต่ไม่รวมถึงกรณีที่ผู้มีเงินได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวเพราะทุพพลภาพหรือตาย
ผู้มีเงินได้ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับปีภาษีที่ได้นำเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนไปหักออกจากเงินได้เพื่อยกเว้นภาษีเงินได้มาแล้วที่อยู่ในช่วงระยะเวลาไม่เกิน
5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ของปีภาษีนั้นๆ
จนถึงวันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม เพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มเติมของปีภาษีดังกล่าว
พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
ในกรณีที่มีการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนรวมหุ้นระยะยาวซึ่งไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามของ
2.1.1 หรือ 2.1.2 การคำนวณต้นทุนผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหน่วยลงทุน (Capital
Gain) เพื่อเสียภาษีในกรณีดังกล่าวให้คำนวณโดยวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)
2.1.7
การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามประกาศนี้
ให้ผู้มีเงินได้นำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 แห่งประมวลรัษฎากร เมื่อได้หักตามมาตรา 42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว
2.2 หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับยกเว้นเงินได้ในส่วนที่เป็นเงินหรือผลประโยชน์ใด
ๆ ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่
กองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ ตามข้อ 2
(67) แห่งกฎกระทรวง (ฉบับที่ 126) พ.ศ. 2509 แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่
246 (พ.ศ. 2547) ทั้งนี้
เฉพาะกรณีที่ผู้มีเงินได้ถือหน่วยลงทุนดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีปฏิทิน
แต่ไม่รวมถึงกรณีทุพพลภาพหรือตาย และเงินหรือผลประโยชน์ดังกล่าว คำนวณมาจากเงินได้พึงประเมินที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
ทั้งนี้ โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2547 เป็นต้นไป
ตารางแสดงข้อแตกต่างของค่าซื้อหน่วยลงทุน
RMF
และ LTF
ประเด็น |
RMF |
LTF |
· วัตถุประสงค์การจัดตั้ง |
สนับสนุนให้ประชาชนออมเงินไว้ใช้ในยามเกษียณ |
สนับสนุนการลงทุนระยะยาวในตลาดทุนผ่านกองทุนรวมซึ่งเป็นผู้ลงทุนสถาบัน
เพื่อช่วยสร้างเสถียรภาพของตลาดทุนไทย |
· นโยบายกองทุน |
มีนโยบายการลงทุนที่หลากหลาย |
มีนโยบายแบบเดียวคือ กองทุนรวม |
· เงื่อนไขการลงทุนเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
- ลงทุนต่อเนื่องทุกปี โดยลงทุนขั้นต่ำ อย่างน้อย 3% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
หรือ 5,000 บาท แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะน้อยกว่า - สามารถซื้อหน่วยลงทุนปีเว้นปีได้ - ต้องลงทุนและถือหน่วยลงทุนจนกระทั่งอายุครบ
55 ปีบริบูรณ์ รวมทั้งต้องลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า
5 ปีนับแต่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (นับแบบวันชนวัน) เช่น ซื้อหน่วยลงทุนตอนอายุ 53 ปี
ก็ต้องลงทุนต่อเนื่องไปจนครบ 5 ปี แม้อายุจะเกิน 55
ปี แล้วก็ตาม |
- ไม่มีข้อกำหนดให้ลงทุนต่อเนื่อง แต่ปีใดที่มีการลงทุนต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย
5 ปีปฏิทิน - กรณีที่ผู้ลงทุนสั่งขายหรือสับเปลี่ยนระหว่างกองทุน LTF หน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนจะถูกนำไปขายก่อน
(First-In First-Out : FIFO) โดยผู้ลงทุนไม่สามารถกำหนดให้ บลจ. ขายหน่วยลงทุนก้อนอื่นที่ซื้อทีหลังได้
ตัวอย่างเช่น : ซื้อ LTF ในปี 2552 2553 2554 และ 2555 ต่อมาผู้ลงทุนต้องการขาย
LTF บลจ.จะขายหน่วยลงทุนที่ซื้อในปี 2552 ก่อน และเรียงลำดับไปตามปีที่ซื้อก่อนเสมอ |
· เงินลงทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี |
- เงินซื้อหน่วยลงทุน
จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้ว
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท - กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน
(Capital Gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ |
- เงินซื้อหน่วยลงทุนใน
LTF จะได้รับยกเว้น |
ที่มา: http://www.start-to-invest.com/webedu/content.html?menu_id=82
3. ค่าลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เนื่องจากเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
(RMF) หรือการหักลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนใน RMF
มีการผูกเงื่อนไขไว้กับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
และค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญด้วย จึงขอกล่าวถึงประเด็นหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับค่าลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังต่อไปนี้
3.1 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับค่าลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เป็นไปตามมาตรา 47 (1)(ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร
ดังนี้
3.1.1
โดยทั่วไปผู้ที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องเป็นผู้มีเงินได้ที่มีเงินได้ตามมาตรา
40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
ที่ทำงานกับนายจ้างที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือรัฐวิสาหกิจ
3.1.2
นายจ้างได้มีการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ. 2533)
ซึ่งออกตามความในมาตรา 65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร และลูกจ้างผู้มีเงินได้เป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นายจ้างจัดตั้งขึ้น
3.1.3 เมื่อลูกจ้างผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว
ให้มีสิทธินำเงินสะสมนั้นมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
3.2 หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 183 (พ.ศ. 2533)
ซึ่งออกตามความในมาตรา 65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดไว้พอสรุปความได้ดังนี้
3.2.1
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หมายความว่า ลูกจ้างและนายจ้างตกลงกันจัดตั้งขึ้นและได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้
เพื่อเป็นหลักประกันแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างตาย ออกจากงานหรือลาออกจากกองทุน
โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับของกองทุนนั้น
ทั้งนี้ จะจัดตั้งเป็นกองทุนนายจ้างเดียวหรือกองทุนหลายนายจ้าง
ซึ่งอาจมีนโยบายการลงทุนนโยบายเดียวหรือหลายนโยบายก็ได้ (มาตรา 3 และมาตรา
5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.
2530 แก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2550) แบ่งเป็น
(1)
“กองทุนนายจ้างเดียว” หมายความว่า
กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงรายเดียว
(2) “กองทุนนายจ้างหลายราย”
หมายความว่า กองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อลูกจ้างของนายจ้างเพียงหลายราย
3.2.2
การจ่ายเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง
ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้าง
และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
แต่ข้อบังคับนั้นจะต้องกำหนดให้หักค่าจ้างเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2 แต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง และให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ ในอัตราไม่ต่ำกว่า
อัตราเงินสะสมของลูกจ้างแต่ไม่เกินร้อยละ 15 ของค่าจ้าง
ทั้งนี้ ลูกจ้างและนายจ้างอาจตกลงกันให้จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนฯ
ในอัตราที่สูงกว่าอัตราดังกล่าวโดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังก็ได้
ให้นายจ้างส่งเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีการจ่ายค่าจ้าง
ในกรณีที่นายจ้างส่งเงินดังกล่าวเข้ากองทุนล่าช้ากว่า 3
วันทำการนายจ้างต้องจ่ายเงินเพิ่มให้แก่กองทุนในระหว่างเวลาที่ส่งล่าช้าในอัตราร้อยละ
5 ต่อเดือนของจำนวนเงินสะสม หรือเงินสมทบที่ส่งล่าช้านั้น (มาตรา
10 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลียงชีพ พ.ศ.
2530)
“ค่าจ้าง” หมายความว่า
เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด
คำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนโดยวิธีใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างใด
แต่ไม่รวมถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด
หรือเงินหรือผลประโยชน์อย่างอื่นที่นายจ้างหักไว้หรือจ่ายเพิ่มเติมให้แก่ลูกจ้างเพื่อประโยชน์ในการทำงาน
(มาตรา 3
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลียงชีพ พ.ศ. 2530)
3.2.3
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
พ.ศ. 2530 ณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง (มาตรา
5 – มาตรา 7
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530)
3.2.4
การจ่ายเงินจากกองทุนฯ เมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่น
ซึ่งมิใช่กองทุนเลิกผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนฯ
ให้แก่ลูกจ้างตามหลักเกณฑ์ และวิธีการในข้อบังคับของกองทุนฯ
โดยให้จ่ายรวมทั้งหมดครั้งเดียวภายในเวลาไม่เกิน 30
วันนับแต่วันสิ้นสมาชิกภาพ (มาตรา 24
แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530)
3.2.5
ผู้จัดการกองทุนต้องเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่นายจ้าง
และต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
และได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งได้แก่ บริษัทเงินทุน
หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการจัดการลงทุน (มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ประกอบกฎกระทรวง
ฉบับที่ 2 ซึ่งออกตามความใน
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530)
การจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
และค่าใช้จ่ายในการจัดการกองทุนดังกล่าว ต้องเป็นไปตาม หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 2
ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530
3.2.6 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพย่อมเลิกเมื่อนายจ้างเลิกกิจการ
ที่ประชุมมีมติให้เลิก มีกรณีที่ข้อบังคับของกองทุนฯ กำหนดให้เลิก
หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสั่งให้เลิกกองทุนฯ (มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530)
3.3 หลักเกณฑ์เกี่ยวค่าลดหย่อนเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของคู่สมรสของผู้มีเงินได้
3.3.1
เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎกระทรวงตามมาตรา
65 ตรี (2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท (มาตรา 47 (1)(ช) วรรคแรก
แห่งประมวลรัษฎากร)
3.3.2 ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าว
และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี
ให้หักลดหย่อนได้ด้วยสำหรับเงินสะสมของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน
10,000 บาท (มาตรา 47 (1)(ช) วรรคสอง
แห่งประมวลรัษฎากร)
อย่างไรก็ตาม นับแต่ปีภาษี พ.ศ. 2555
เป็นต้นไปในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี หากสามีได้ถือเอาเงินได้ของภริยาดังกล่าวเป็นเงินได้ของตน
หรือภริยาได้ถือเอาเงินได้ของสามีดังกล่าวเป็นเงินได้ของตน ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร และภริยาหรือสามีได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขข้างต้น ให้สามีหรือภริยานำเงินสะสม
ที่ภริยาหรือสามีได้จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ดังกล่าวมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
3.4 เงินได้เท่าที่ลูกจ้างจ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราไม่เกินร้อยละสิบห้าของค่าจ้างเฉพาะส่วนที่เกิน
10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท สำหรับปีภาษีนั้น (ข้อ
2 (35) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 266
(พ.ศ. 2551) ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่
1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป)
3.5 หลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยกเว้นเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ
ทุพพลภาพ หรือตาย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 223)
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการ
สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงาน เพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป ดังนี้
3.5.1
เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ
ที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ทุพพลภาพ
หรือออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์
ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้
(1)
กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะตาย ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย
(2)
กรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะทุพพลภาพต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
(3)
กรณีลูกจ้างออกจากงานเมื่อมีอายุไม่ต่ำกว่าห้าสิบห้าปีบริบูรณ์
ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้
(ก)
กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5
ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า
5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ
(ข)
กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจำนวนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว
การเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่น้อยกว่า
5 ปี
การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข)
ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้นับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้
การรับเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
(ข้อ 3)
3.5.2 เงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่มีสิทธิได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเนื่องจากลูกจ้างออกจากงานก่อนอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์
แต่เมื่อออกจากงานแล้วได้คงเงินหรือผลประโยชน์นั้นไว้ทั้งจำนวนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
และต่อมาได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย ทุพพลภาพ
หรืออายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์
ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ดังนี้ (ข้อ 4)
(1)
กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นตาย
ต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการตาย
(2)
กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นทุพพลภาพต้องมีหลักฐานจากแพทย์ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าทุพพลภาพ
(3)
กรณีได้รับเงินหรือผลประโยชน์หลังจากลูกจ้างผู้นั้นอายุครบห้าสิบห้าปีบริบูรณ์
ต้องเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้
(ก)
กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาโดยตลอด ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 5
ปีต่อเนื่องกัน ถ้าเป็นสมาชิกยังไม่ถึง 5 ปีต่อเนื่องกัน
ต้องเป็นสมาชิกไปจนมีระยะเวลาการเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปีต่อเนื่องกัน หรือ
(ข)
กรณีเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและเคยเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
โดยได้โอนเงินหรือผลประโยชน์ที่ได้คงไว้ทั้งจำนวนจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการไปยังกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วการเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเมื่อรวมกับการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วต้องไม่น้อยกว่า
5 ปี
การเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม (ก) และ (ข)
ถ้ามีการโอนเงินหรือผลประโยชน์ระหว่างกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ให้นับอายุการเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่อเนื่องกัน
ทั้งนี้
การรับเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ
จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
4. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
นอกจากค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป
และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47 (1)(ง)
แห่งประมวลรัษฎากร แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังได้ยกเว้นเงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยในปีภาษี
สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
เฉพาะส่วนที่เกินหนึ่งหมื่นบาทแต่ไม่เกินเก้าหมื่นบาท โดยกรมธรรม์ประกันชีวิตต้องมีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป
และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันภัย ที่ได้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551
เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกำหนด ทั้งนี้ตามข้อ 2 (61)
แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ดูประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 172) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่
126 (พ.ศ.2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ใช้บังคับสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตที่ได้เริ่มทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป
ต่อมารัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้มีเงินได้ทำสัญญาประกันชีวิตแบบบำนาญเพื่อเพิ่มทางเลือกในการออม
และการสะสมเงินออมอันเป็นการเสริมสร้างหลักประกันความมั่นคงเมื่อเกษียณอายุ ได้มีการเพิ่มความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ
2 (61) แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 279 (พ.ศ. 2554) ใช้บังคับวันที่ 23
กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป ดังนี้
“หากเบี้ยประกันภัยที่จ่ายตามวรรคหนึ่ง
เป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป
ให้เงินได้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นอีก
ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้
เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม
(35) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตาม
(43) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนตาม (54)
แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตาม
(55) แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
การได้รับยกเว้นตามวรรคสอง
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด”
อธิบดีกรมสรรพากรอาศัยอำนาจตามความในวรรคสามของข้อ
2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่
194) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้
สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
ของผู้มีเงินได้ตามวรรคสามของข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 236) ลงวันที่
31 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินปีภาษี 2555 เป็นต้นไป
ดังต่อไปนี้
4.1
เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (ข้อ 1)
4.1.1
เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบบำนาญที่มีกำหนดเวลาตั้งแต่สิบปีขึ้นไป
4.1.2
เป็นการประกันชีวิตที่ได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร
4.1.3 มีการกำหนดการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ
ซึ่งจำนวนผลประโยชน์เงินบำนาญดังกล่าวจะจ่ายเท่ากันทุกงวดหรือจ่ายในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการเอาประกันก็ได้
โดยการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญจะจ่ายตามการทรงชีพที่อาจมีการรับรองจำนวนงวดในการจ่ายที่แน่นอน
4.1.4 มีการกำหนดช่วงอายุของการจ่ายผลประโยชน์เงินบำนาญเมื่อผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่
55 ปีขึ้นไป ถึงอายุ 85 ปี หรือกว่านั้น
และผู้มีเงินได้ต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยครบถ้วนแล้วก่อนได้รับผลประโยชน์เงินบำนาญ
4.2 การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย
สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้
กรณีผู้มีเงินได้ได้จ่ายเบี้ยประกันภัย
สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพียงอย่างเดียว
หรือได้จ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่นด้วย แล้วแต่กรณี
ให้ยกเว้นเงินได้ที่จ่ายไปเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ หรือการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่น
แล้วแต่กรณี ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ตามข้อ 2 (61)
วรรคหนึ่ง แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
และให้ยกเว้นเงินได้เพิ่มขึ้นอีกตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (ข้อ 2)
4.2.1
ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย
สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558
เป็นต้นไป
กรณีที่ผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี
หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามวรรคหนึ่ง
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
4.2.2 กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ได้จ่ายเบี้ยประกันภัยในปีภาษี
สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ ให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย
สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญของสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้เพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ
15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน
200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี
หรือจ่ายเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้
ได้จ่ายเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพียงอย่างเดียว หรือได้จ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่นด้วย
แล้วแต่กรณี และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี
ให้สามีหรือภริยาซึ่งเป็นฝ่ายผู้มีเงินได้
มีสิทธิหักลดหย่อนสำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
หรือเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญและแบบอื่น แล้วแต่กรณี ของสามีหรือภริยาฝ่ายที่ไม่มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง
แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47 (1)(ง)
แห่งประมวลรัษฎากร
4.2.3
กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
(1) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินที่ตนได้รับ
ในปีภาษีที่ล่วงมาตามวรรคหนึ่งของมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ
15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสม
เข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี
หรือจ่ายเงินค่าซื้อ
หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในปีภาษีเดียวกัน
(2) ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะ
ส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร
โดยไม่ถือเป็น เงินได้ของอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57 ฉ
แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่าง
ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ
15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น แต่ไม่เกิน
200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสม
เข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี
หรือจ่ายเงินค่าซื้อ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในปีภาษีเดียวกัน
(3)
ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงิน
ได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่งตามวรรคสามของมาตรา 57
ฉ แห่งประมวลรัษฎากรให้ผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่าย
เป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
แต่ไม่เกิน 200,000 บาทและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงิน
ได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญในส่วนของสามีหรือ
ภริยาเพิ่มขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
กรณีสามีหรือภริยาซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จ
บำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือจ่ายเงินสะสม
เข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี
หรือจ่ายเงินค่าซื้อ
หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลัก
ทรัพย์เงินที่ได้จ่ายดังกล่าว เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญ
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน
ทั้งนี้ การใช้สิทธิยกเว้นภาษีตาม (1)(2)
และ (3) ต้องไม่เกิน เงินได้พึงประเมินของแต่ละคนหลังจากหักค่าใช้จ่าย ตามมาตรา
42 ทวิ ถึงมาตรา 46 แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
4.3 การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าว
ผู้มีเงินได้ต้องมีหลักฐานจากผู้รับประกันภัยซึ่งได้รับรองว่า
เป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยสำหรับการประกันชีวิตแบบบำนาญที่ได้รับยกเว้นภาษีตามหลักเกณฑ์ข้างต้น
(ข้อ 3)
5. บทสรุป
การจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
การซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
(LTF) ล้วนแต่เป็นรูปแบบของการออม
ที่รัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนให้มีการออมเงิน
ในส่วนของค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุมรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
ที่กำหนดให้ลูกจ้างหรือข้าราชการที่มีขีดความสามารถในการออมเงินมากกว่าออมผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
รวมทั้งประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ที่ไม่สามารถออมเงินผ่านกองทุนทั้งสองดังกล่าวเพราะไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของกองทุนทั้งสองได้
การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ขึ้น
จึงเป็นทางออกและเพื่อเพิ่มทางเลือกในการออมเงินระยะยาวให้แก่ลูกจ้าง ข้าราชการ
และผู้มีเงินได้โดยทั่วไป ในอันที่จะเป็นการส่งเสริมการลงทุนในสถาบันในตลาดทุนของไทยเพิ่มมากขึ้นอีกทางหนึ่ง
ทั้งยังได้มีข้อกำหนดในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการถือหน่วยลงทุนและการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพอีกด้วย
และสำหรับค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และเงินหรือผลประโยชน์ใดๆ
ที่ได้รับเนื่องจากการขายหน่วยลงทุนคืนให้แก่กองทุนดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการออมที่มีผลกระทบต่อการลงทุนระยะยาวผ่านกองทุนรวมหุ้นระยะยาว
ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ลำดับการออมเงินได้ดังกล่าว นั้น ในชั้นต้นหากผู้มีเงินได้ต้องออมเงินได้ผ่านกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ถือเป็นข้อผูกมัดที่ต้องออมตามกฎเกณฑ์ของหน่วยงาน
ให้ใช้สิทธิลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการออมดังกล่าว ดังนี้
5.1
สำหรับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ให้นำไปคำนวณหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจำนวนที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนดังกล่าวไปจริง
แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ตามมาตรา 47 (1)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับเงินสะสมในส่วนที่เกิน
10,000 บาท อีกไม่เกิน 490,000 บาท (ถ้ามี) ให้นำไปยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ
แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ตามมาตรา 42
(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (35) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126
(พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
5.2 สำหรับเงินสะสมกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ตามจำนวนที่จ่ายสะสมเข้ากองทุนดังกล่าวไปจริง แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ให้นำไปคำนวณหักเป็นรายการยกเว้นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ก่อนหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา 42 ทวิ
แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตราร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท ตามมาตรา 42
(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (35) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126
(พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
5.3 สำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
5.3.1
ในเบื้องต้น เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญตามกรมธรรม์ที่มีกำหนดเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปี
และได้ทำประกันชีวิตกับบริษัทรับประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทย
ให้ใช้สิทธิได้เหมือนกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับที่กล่าวข้างต้น
เฉพาะเบี้ยประกันในส่วนที่จ่ายจริงในปีภาษีแต่ไม่เกิน 100,000 บาท กล่าวคือ
(1)
สำหรับเบี้ยประกันชีวิตในส่วนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ให้นำไปคำนวณหักลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 47
(1)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร
(2)
สำหรับเบี้ยประกันชีวิตในส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
หรือเป็นจำนวนที่จ่ายจริงอีกจำนวน 90,000 บาท นั้น
ให้ได้รับยกเว้นเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย เสมือนเป็นค่าลดหย่อนตามมาตรา 42
(17) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 (61) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126
(พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
5.3.2
เฉพาะสำหรับเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญในส่วนที่เกินกว่าจำนวนเบี้ยประกันตาม 5.3.1
แล้วนั้น ให้นำไปหักออกจากเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย เสมือนเป็นค่าลดหย่อนได้เพิ่มขึ้นอีก
ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น
แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้
เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้สำหรับกรณีที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม
ข้อ 2 (35) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามข้อ
2 (43) หรือเงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนตามข้อ
2 (54)
แล้วแต่กรณีหรือเงินค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามข้อ
2 (55) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท ในปีภาษีเดียวกัน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์
และวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 236) ลงวันที่
31 มกราคม พ.ศ. 2556
5.4
สำหรับค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) ตามกฎกระทรวง
ฉบับที่ 126 ข้อ 2 (55) ประกอบกับหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 171) เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
และการถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 259) ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2558
5.4.1
เงื่อนไขการลงทุนเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
-
ลงทุนต่อเนื่องทุกปี โดยลงทุนขั้นต่ำ อย่างน้อย 3%
ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับซึ่งต้องเสียภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น หรือ 5,000 บาท แล้วแต่ว่าจำนวนใดจะน้อยกว่า
-
สามารถซื้อหน่วยลงทุนปีเว้นปีได้
-
ต้องลงทุนและถือหน่วยลงทุนจนกระทั่งอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ รวมทั้งต้องลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
(นับแบบวันชนวัน) เช่น ซื้อหน่วยลงทุนตอนอายุ 53 ปี
ก็ต้องลงทุนต่อเนื่องไปจนครบ 5 ปี แม้อายุจะเกิน 55 ปี แล้วก็ตาม
5.4.2
เงินลงทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
-
เงินซื้อหน่วยลงทุน
จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริงสูงสุดไม่เกิน 15%
ของเงินได้ในแต่ละปีโดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ แล้ว
ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
PVD/กบข + เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ + RMF (≤15%
ของเงินได้) ≤ 500,000
บาท
- กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (Capital Gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้
5.5
สำหรับค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ตามกฎกระทรวง ฉบับที่
126 ข้อ 2 (66) ประกอบกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 169) ลงวันที่
24 ธันวาคม 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้
(ฉบับที่ 257) ลงวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2588 ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่
1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
5.4.1
เงื่อนไขการลงทุนเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
-
ไม่มีข้อกำหนดให้ลงทุนต่อเนื่อง
แต่ปีใดที่มีการลงทุนต้องถือหน่วยลงทุนไว้อย่างน้อย 5 ปีปฏิทิน
-
กรณีที่ผู้ลงทุนสั่งขายหรือสับเปลี่ยนระหว่างกองทุน LTF หน่วยลงทุนที่ซื้อก่อนจะถูกนำไปขายก่อน
(First-In First-Out : FIFO) โดยผู้ลงทุนไม่สามารถกำหนดให้
บลจ.ขายหน่วยลงทุนก้อนอื่นที่ซื้อทีหลังได้ ตัวอย่างเช่น : ซื้อ LTF ในปี 2550 2551 2552 และ 2553 ต่อมาผู้ลงทุนต้องการขาย LTF บลจ.จะขายหน่วยลงทุนที่ซื้อในปี
2550 ก่อน และเรียงลำดับไปตามปีที่ซื้อก่อนเสมอ
5.4.2
เงินลงทุนที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี
- เงินซื้อหน่วยลงทุนใน LTF จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15 % ของเงินได้ในแต่ละปี
ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท
-
ส่วนกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้